สวัสดีค่าน้องๆวันนี้ไปเจอบทความบน Website MSN เกี่ยวกับปัญหาของประเทศซีเรีย เลย copy มาให้อ่านกันนะคะ ใครอยากดูภาพประกอบตามลิ้งค์ข้างล่างไปดูได้เลยค่ะ
...ตอนนี้ นานาชาติมหาอำนาจกำลังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจที่จะส่งกองกำลังทหารเข้าตอบ โต้การที่ฝ่ายกองทัพซีเรียใช้อาวุธเคมีโจมตีเข้าใส่ฝ่ายประชาชนผู้ต่อต้าน เรามาลองย้อนกลับไปดูเส้นทางประวัติศาสต์สมัยใหม่ ที่เป็นสาเหตุนำมาสู่วิกฤติการณ์ครั้งร้ายแรงของประเทศซีเรียอย่างในทุก วันนี้...
เป็น เวลาช่วงหนึ่งหลังจากที่อาณาจักรออตโตมันล่มสลายภายหลังสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่
1 ประเทศซีเรียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อันเป็นส่วนหนึ่งของสันนิบาตชาติในช่วงปี
1920s การปกครองดังกล่าวทำให้ชีวิตของประชากรแทบจะต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝรั่งเศสไปเสียทุกอย่าง ซึ่งการกดขี่เช่นนั้นทำให้ชาวซีเรียเริ่มแสดงความต่อต้านต่อฝรั่งเศส แม้ฝรั่งเศสเองจะยินยอมให้ซีเรียได้อิสรภาพไปตั้งแต่ปี
1936 แต่ประเทศซีเรียเองก็ประกาศอิสรภาพอีกครั้งในปี
1941 แต่ซีเรียก็ไม่ได้ปกครองด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบจนกระทั่งปี
1946 ที่สหประชาชาติมีมติให้กองทัพฝรั่งเศสหน่วยสุดท้ายถอนกำลังออกจากซีเรีย
อิสรภาพ ในยุคแรกเริ่มของซีเรียถูกแทนที่ด้วยกองกำลังทหารฝ่ายต่างๆ ในช่วงที่อำนาจในการปกคริงยังถือเป็นของประชาชน กลับมีทหารจากฝ่ายต่างๆตระเวณไปมารอบตัวเมืองอยู่เสมอๆ จนกระทั่งนายพล Adib Shishakli เข้ายึดอำนาจในปี 1951 การเมืองภายในประเทศซีเรียจึงค่อยมีความมั่นคงขึ้นมาบ้าง แม้จะก่อให้เกิดการกดขี่ต่อกลุ่มผู้ต่อต้านไปพร้อมๆกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาความมั่นคงจะยุติ เพราะไม่นานก็เกิดปัญหาขัดแย้งกันภายในกองทัพ รวมทั้งการกระแสต่อต้านจากกลุ่มพรรคการเมืองภายนอกทั้งหลายที่นำไปสู่การ เปลี่ยนตัวผู้นำในปี 1954 ในช่วงที่ประเทศกำลังมีแนวโน้มจะเกิดสงครามกลางเมือง
และด้วยความไม่ มั่นคงเหล่านี้เองจึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มการเมืองต่างๆภายในซีเรีย ไม่ว่าจะเป็นพรรคบาธ(พรรคฟื้นฟูสังคมนิยมอาหรับ), พรรคภราดรภาพมุสลิม และ พรรคคอมมิวนิสต์
ด้วย สภาวะการเมืองที่ไม่แน่นอนของซีเรีย ทำให้กลุ่มการเมืองต่างๆหันไปมองหาแนวร่วมจากต่างประเทศ และการที่ซีเรียและอียิปต์ต่างก็มีนโยบายทางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้ทั้ง 2 ประเทศหันมาจับมือกันก่อตั้งเป็น สหสาธารณรัฐอาหรับ ในปี 1958
อย่างไรก็ตาม แม้ประธานาธิบดีของอียิปต์ นาย Gamal Abdel Nasser จะมีชื่อเสียงขึ้นมาในหมู่ชาติอาหรับนับตั้งแต่วิกฤติการณ์คลองสุเอซเมื่อปี 1956 แต่ซีเรียก็เริ่มไม่พอใจที่อียิปต์ดูจะมีอำนาจในสหสาธารณรัฐอาหรับเพิ่มมาก ขึ้นๆ จนทำให้กองกำลังทหารของอีกฝ่ายตัดสินใจยึดอำนาจจากรัฐบาลซีเรียในปี 1961 และหันมาก่อตั้ง สหสาธารณรัฐซีเรีย แทน
ซีเรีย ภายใต้การปกครองใหม่ก็ไม่ได้มีความมั่นคงต่างไปกับรัฐบาลเก่าเลย เพราะเพียงแค่ 18 เดือนต่อมา พรรคบาธ หรือ พรรคฟื้นฟูสังคมนิยมอาหรับ ก็มีส่วนร่วมในการนำการปฏิวัติโค่นล่มจับกุมฝ่ายอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ของประเทศ นอกจากนี้พรรคบาธยังได้ทำการปฏิวัติในประเทศอิรักไปแล้วเมื่อหนึ่งเดือนก่อน หน้าด้วย อย่างไรก็ตามพรรคบาธในทั้ง 2 ประเทศก็ประกาศยุติความเกี่ยวข้องกันในปี 1966 แต่ยังคงรักษาความใกล้ชิดทางการเมืองไว้ตลอดหลายทศวรรษต่อมา ภายใต้รัฐบาลของนายซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำทางการอิรักที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจสูงสุดในปี 1979
หลัง จากที่แยกกับพรรคบาธในอิรักแล้ว พรรคบาธของซีเรียเองก็ยังคงไร้ซึ่งความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันภายในระหว่างผู้นำพรรค นาย Salah Jadid และเลขาธิการด้านความมั่นคงของเขา นาย Hafez al-Assad นั่นเอง
ใน เวลาเดียวกันนั้น การเมืองของซีเรียก็ยิ่งไม่มั่นคงมากขึ้นอีกหลังจากที่สูญเสียพื้นที่เขตที่ ราบสูงโกลันไปให้กับอิสราเอลในสงคราม 6 วันเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 1967 พร้อมๆกับที่ชาติพันธมิตรในอาหรับอย่างอียิปต์ก็สูญเสียคาบสมุทรไซนาย, จอร์แดนสูญเสียพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน ในขณะที่อิสราเอลสามารถเข้ายึดครองเมืองเยรูซาเลม ทั้งหมดนี้ภายในเวลาแค่ไม่ถึง 1 สัปดาห์ รวมทั้งยังมีความวุ่นวายจากการเข้าแทรกแซงในนามขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ที่ต่อต้านชาวทรานส์จอร์แดนในช่วงวิกฤติกันยาทมิฬในสงครามกลางเมืองจอร์แดน เมื่อปี 1970 อีกด้วย
พัน เอกอัลอัสซาด ก่อการปฏิวัติโดยไม่มีการนองเลือกได้สำเร็จในปี 1970 และรีบก่อตั้งโครงสร้างการเมืองแบบเผด็จการขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเมืองในประเทศซีเรียมั่นคงได้อย่างยาวนานที่สุด นับตั้งแต่สมัยของอาณาจักรออตโตมัน เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีจากการลงประชามติในปี 1971 และวางรากฐานการปกครองที่จะรักษาอำนาจของเขาได้อย่างมั่นคงไปนานกว่า 30 ปี
จริง อยู่ที่ว่าการปกครองของนายอัลอัสซาด นั้นนำความมั่นคงกลับมาสู่ประเทศอีกครั้ง แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเขาเลือกก็ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อจัดการกับ กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อครั้งที่เกิดเหตุปะทะกับกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคภราดรภาพ มุสลิมที่ Hama เมื่อปี 1982 ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงตั้งแต่ 10,000 ไปจนถึง 40,000 คนเลยทีเดียว
นายอัสซาดใช้เวลาในช่วงแรกๆหลังได้ครองอำนาจหมดไปกับความพยายามที่จะเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นชาติมหาอำนาจยักษ์ใหญ่แห่งตะวันออกกลาง
เมื่อ วันที่ 6 ต.ค. 1973 ซีเรียก็เปิดฉากก่อสงครามแบบไม่ทันได้ตั้งตัวร่วมกับอียิปต์, อิรัก และจอร์แดน เข้าโจมตีพื้นที่ที่เป็นของอิสราเอลโดยมีเป้าหมายเพื่อทวงคืนพื้นที่ที่ราบ สูงโกลันกลับคืนให้ซีเรียและคาบสมุทรไซนายให้กับอียิปต์ สงครามดังกล่าวปะทุขึ้นมาในวันโยมคิปปูร์ ซึ่งถือเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในช่วงเดือนรอมฎอนของเยรูซาเลม หลังจบสงครามคาบสมุทรไซนายก็กลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของอียิปต์ แต่พื้นที่ที่ราบสูงโกลันยังคงเป็นของอิสราเอลอยู่
หนึ่งในผลลัพธ์ จากกองกำลังทหารซีเรียที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆได้แก่ การเข้ายึดครองชาติเพื่อนบ้านอย่างเลบานอนในช่วงปี 1976 ซึ่งก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา โดยทหารซีเรียได้ถอนกำลังทหารออกไปในปี 2005
การ ต่อต้านของประชาชนชาวซีเรียต่อรัฐบาลของนายอัลอัสซาดเริ่มลดราลงหลังจากที่ เขาได้เปลี่ยนแปลงนโยบายในการบริหารประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อทั้งชาติตะวันตกและชาติอาหรับในแถบเพื่อนบ้านกัน เองด้วย โดยซีเรียได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกองกำลังทหารนานาชาติ ต่อต้านการบุกคูเวตของอิรักภายใต้การนำของนายซัดดัม ฮุสเซน เมื่อปี 1990 ซึ่งถือเป็นการยุติความสัมพันธ์กันอย่างสิ้นเชิงระหว่างพรรคบาธของนายอัลอัส ซาดในซีเรีย กับพรรคบาธของซัดดัม ฮุสเซนในอิรัก พร้อมทั้งเข้าร่วมการประชุมพหุภาคีกลางเพื่อสันติภาพตะวันออกกลางที่กรุง มาดริดเมื่อปี 1991 ทั้งยังเปิดเจรจาสันติภาพกับอิสราเอลว่าด้วยพื้นที่พิพาทแถบที่ราบสูงโกลัน ที่นับเป็นการพลิกบทบาทจากเมื่อครั้งช่วงปี 1970s ไปอย่างสิ้นเชิง
(ภาพ บนคือ นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล Ehud Barak (ซ้าย), ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบิล คลินตัน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของซีเรีย Farouq al-Shara (ขวา) เมื่อปี 1999)
ใน ช่วงปี 1990s รัฐบาลของนายอัลอัสซาดก็เริ่มไม่มั่นคงเนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ ต่อมาในวันที่ 10 มิ.ย. 2000 นายอัลอัสซาดก็ถึงแก่อสัญกรรมไปด้วยวัย 69 ปี หลังปกครองซีเรียมานานกว่า 3 ทศวรรษ
และทันทีภายหลังจากที่นายอัลอัส ซาดถึงแก่อสัญกรรม รัฐสภาของซีเรียก็ได้ทำการบัญญัติกฎหมายใหม่ แก้ไขอายุต่ำสุดของผู้ที่จะสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ จาก 40 เป็ย 34 ปี เพื่อเปิดทางให้ นายบาชาร์ อัลอัสซาด บุตรชาย สามารถเสนอตัวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบทอดต่อจากผู้เป็นบิดาได้
นาย บาชาร์ อัลอัสซาด ทายาทอดีตประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ ชนะการลงคะแนนเสียงประชามติเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2000 โดยไม่ได้ถูกต่อต้านแต่อย่างใด ชาวซีเรียต่างก็มีความหวังว่า ทายาทนายอัลอัสซาดคนนี้ ซึ่งได้รับการศึกษษตามแบบตะวันตก, จบปริญญาเอก จะนำพาประเทศให้ห่างไกลจากความเป็นเผด็จการ แต่กลับกลายเป็นว่า ช่วงเวลาภายหลังปี 2000-2001 ถูกเรียกว่า 'ดามัสกัสสปริง' หรือ การลุกฮือในดามัสกัส เนื่องจากกลายเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลของเขาจะไม่ยอมรับความเห็นต่างใดๆทั้งสิ้น
นายบาชาร์ อัลอัสซาด ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2007 ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ยาวนานต่อไปอีก 7 ปี และก็ยังคงไม่มีการต่อต้านอย่างเช่นเคย
นาย บาชาร์ อัลอัสซาด ต่อต้านการบุกอิรักที่นำโดยสหรัฐฯเมื่อปี 2003 และยังยิ่งสร้างความตึงเครียดมากขึ้นไปอีกหลังนายพลสหรัฐฯกล่าวหาว่า นายอัลอัสซาดให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบชาวอิรัก ให้โจมตีทหารสหรัฐฯและชาติพันธมิตร นอกจากนี้ ในระหว่างที่สงครามอิรักกำลังดำเนินอยู่ ซีเรียก็ยังถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารอดีตนายกฯเลบานอน Rafik Hariri จนทางสหรัฐฯตัดสินใจดำเนินการลงโทษซีเรีย จนทหารซีเรียต้องถอนกำลังออกจากเลบานอนในเดือนพฤษภาคม 2005 (ตามภาพ)
แม้ จะมีเหตุการณ์รุนแรงหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังดูเหมือนว่า นายอัลอัสซาดจะนิยมการเจรจามากกว่าสร้างความขัดแย้ง ดังเห็นได้จากการถอนทหารออกจากเลบานอน และการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพสงครามระหว่างอิสราเอลและเลบานอนในปี 2006 นายบาชาร์ อัลอัสซาดยังแสดงความพยายามที่จะสานสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยเฉพาะกับ รัสเซีย, อิหร่าน, ฝรั่งเศส และ อิสราเอลด้วย
กระแส การต่อต้านและการลุกฮือของกลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตยแพร่สะพัดไป ทั่วชาติแถบอาหรับตั้งแต่ต้นปี 2011 มีการโค่นล้มผู้นำเผด็จการทั้งในตูนีเซีย, อียิปต์, ลิเบีย อันเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาที่ถูกเรียกว่า 'อาหรับสปริง' หรือการลุกฮือของชาติอาหรับนั่นเอง
สำหรับในซีเรียแล้ว กระแสการเรียกร้องการปฏิวัติเกิดขึ้นช้ากว่าประเทศอื่นๆ แต่ก็มีจำนวนประชาชนที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมืองก็ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทั่วประเทศ แม้ในตอนแรกท่าทีของนายบาชาร์ อัลอัสซาดจะดูยินยอมอ่อนตาม แต่ในภายหลังรัฐบาลของเขาก็สั่งดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มผู้ประท้วง โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลได้ยิงกระสุนใส่ผู้เข้าประท้วงจนเสีย ชีวิตเป็นจำนวนมากที่เมืองเดรา เมื่อเดือนมีนาคม 2011 เป็นการจุดกระแสการต่อต้านให้ยิ่งรุนแรงมากขึ้นทั่วประเทศ มีการสั่งการให้เคลื่อนพลรถถังเข้าสู่เมืองต่างๆ รวมทั้งในกรุงดามัสกัส เพื่อสลายการประท้วงของกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมในปีเดียวกันนั้น เอง
ความ รุนแรงยังคงปะทุขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มผู้ต่อต้านนายอัสซาดเริ่มจัดการบริหารที่เป็นระบบมากขึ้นด้วยการก่อ ตั้ง สภาแห่งชาติซีเรีย และเพื่อเป็นการตอบโต้ กองกำลังรัฐบาลจึงยิ่งเพิ่มมาตรการความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงหนักยิ่ง ขึ้นไปอีก ดังเห็นได้จากการทิ้งระเบิดใส่เมืองฮอมส์ และเมืองที่สำคัญอื่นๆด้วย
ทั้งประเทศต้องวนเวียนอยู่กับเหตุสงคราม กลางเมือง มีผู้เสียชีวิตรวมแล้วกว่า 100,000 คน ในขณะที่ประชาชนอีกกว่า 2 ล้านคนต้องอพยพหนีภัยสงคราม และหลังเกิดเหตุโจมตีด้วยอาวุธเคมีเข้าใส่กลุ่มผู้ต่อต้านที่ต้องสงสัยว่า เป็นฝีมือของฝ่ายรัฐบาล จุดประกายให้นานาชาติเริ่มหวั่นวิตกและพยายามมิงหาวิธีการเข้าแทรกแซงภายใต้ กระแสความหวั่นเกรงว่าจะซ้ำรอยสงครามอิรัก หรืออาจทำให้สงครามลุกลามไปไกลเกินกว่าแค่ในซีเรียก็เป็นได้
Credit: http://news.th.msn.com/%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B9-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87#image=1