หากน้องๆคนไหนยังไม่รู้ว่าการแต่งงานของเพศเดียวกัน หรือที่รู้จักกันในนามว่า same-sex marriage หรือ gay marriage นั้นคืออะไรแล้วมันมีความสำคัญยังไงต้องอ่านเลยค่ะ เพราะว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้เลย เพราะถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาในรอบสิบปีเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันซึ่งคนอเมริกันให้ความสำคัญกับมันมากๆๆๆๆๆ
ต้องท้าวความกันก่อนว่าประเทศอเมริกานั้นมีกฎหมายอยู่สองแบบหลักๆคือ กฎหมายกลาง (รัฐธรรมนูญ) ที่ใช้เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศอยู่แล้ว และกฎหมายของแต่ละรัฐ ที่ต้องมีการแบ่งออกแบบนี้เพราะเดิมทีประเทศอเมริกานั้นเป็นรัฐอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษโดยแต่ละรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน แต่เมื่อหลังจากทำสงครามเพื่ออิสระภาพแล้วนั้นก็กลายเป็นต้องเพิ่มรัฐบาลกลางเพื่อให้เกิดความเป็นประเทศขึ้น รัฐบาลกลาง หรือ Federal Government นั้นมีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการทำสนธิสัญญาต่างๆ ทำสงคราม การค้า และคอยไกล่เกลี่ย หรือตัดสินคดีความข้อพิพาทระหว่างรัฐต่างๆ แต่เนื่องจากประเทศอเมริกานั้นมีขนาดใหญ่มากประกอบกัน 48 รัฐ (บนแผ่นดินใหญ่) รัฐฮาวาย และ รัฐอลาสก้า ด้วยรวมเป็น 50 รัฐ มีประชากรมากมายหลากหลายทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม ประกอบกับการที่ประเทศอเมริกานั้นให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย แต่ละรัฐจึงมีลักษณะการปกครอง และการเมืองท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปเหตุผลหลักๆเลยคือไม่ต้องการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจมากจนเกินไปและต้องการให้การปกครองคนในท้องถิ่นเป็นไปในลักษณะการปกครองตนเอง ทำให้ส่วนใหญ่แล้วการออกกฎหมายที่ใช้ในแต่ละรัฐจึงอาศัยการโหวตภายในรัฐนั้นๆที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นรวมไปถึงการออกกฎหมายอนุญาติ หรือ ไม่อนุญาติให้มีการแต่งงานของเพศเดียวกันเกิดขึ้นด้วย โดยรัฐบาลกลางไม่มีสิทธิเข้าไปก้าวก่าย
แต่.... เมื่อไม่นานมีนี้ LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender) movement ก็เป็นกระแสขึ้นหลายๆรัฐผ่านกฎหมายอนุญาติให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ผ่านการทำประชามติในรัฐของตน อยู่ดีๆสภาคองเกรสก็มีการกลัว LGBT ทำให้มีการผ่านกฎหมายที่ชื่อว่า Defense of Marriage Act (DOMA) ในสมัย Bill Clinton เพื่อห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางยอมรับ หรือ recognize การแต่งงานของเพศเดียวกัน โดยให้คำจำกัดความว่าการแต่งงานหมายถึงระหว่างชาย 1 หญิง 1 เท่านั้น (Traditional Marriage)
แต่.... ก็มีการต่อต้านการร้องเรียนต่างๆเกิดขึ้นมากมายจนเป็นเหตุนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายนี้ในปี 2014 ที่ศาลสูงของประเทศ (Supreme Court of the United States/ SCOTUS) strike down ว่าการที่รัฐบาลกลางไม่ยอมรับการแต่งงานที่ถูกต้องตามกฎหมายของคู่รักเพศเดียวกันนั้นคือการ discriminate และละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่สมควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐฯอย่างเท่าเทียมกัน เป็นสิ่งที่ unconstitutional หรือ ผิดหลักรัฐธรรมนูญ ทำให้ตั้งแต่งนั้นเป็นต้นมารัฐบาลกลางก็ต้องยอมรับการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันที่ทำอย่างถูกต้องในรัฐต่างๆได้
แต่.... เนื่องจาก Defense of Marriage Act มีบทบัญญัติหลายข้อและศาลสูงได้แก้ไขเฉพาะส่วนที่พูดถึงรัฐบาลกลางเท่านั้น ทำให้รัฐอื่นๆที่ยังไม่อนุญาติให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ก็ยังคงไม่อนุญาติได้อยู่รวมถึงไม่จำเป็นต้องยอมรับด้วย ทำให้การประท้วงและเรียกร้องความเสมอภาคของเหล่า LGBT ก็ยังคงดำเนินต่อไป
แต่.... ในวันที่ 26 มิถุนายน 2015 นั้นก็มีการตัดสินข้อพิพาษระหว่าง Obergefell v. Hodges มีที่มาคือ Obergefell ผู้ร้องเสียหายต้องการมีชื่อเป็น Surviving Spouse ของสามีที่เสียชีวิตไปแต่ถูกปฎิเสธเพราะรัฐ Ohio ไม่ยอมรับการแต่งงานของเค้าและสามีในรัฐแมรี่แลนด์ เค้าจึงเรียกร้องขอความเป็นธรรมโดยมีการฟ้องร้องรัฐ Ohio ว่ากีดกัน และเหยียดหยามการแต่งงานของเค้าที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐอื่น คดีความกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตและมีการอุทรณ์ขึ้นไปจนถึงศาลสูง(สุด) ของประเทศจนได้ และศาลก็มีคำตัดสินออกมาว่าการแต่งงานนั้นเป็น right หรือ สิทธิที่ทุกคนทำได้ ทำให้ same-sex marriage เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายเหมือนการแต่งงานอื่นๆทั่วไป คู่สมรสมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับและได้รับผลประโยชน์ต่างๆเหมือนคู่สามี ภรรยาได้รับ และถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของ LGBT community ในอเมริกาเพราะเมื่อคำตัดสินมาจากศาลสูงแล้วถือเป็นอันสิ้นสุดและเด็ดขาดมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศทันที
แต่.... LGBT community ก็จะไม่หยุดอยู่แค่นี้เพราะพวกเค้าคิดว่าถึงแม้จะมีการแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่พวกเค้าอาจจะโดนรังแกจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการตัดสินของ SCOTUS ครั้งนี้ด้วยการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายมา discriminate พวกเค้าอีก เหมือนกับกรณีของการเหยียดสีผิว, เพศ, ศาสนา, ฯลฯ ที่ชาวผิวสี และผู้หญิงยังคงเผชิญอยู่ในขณะนี้
ฉะนั้นก่อนที่เราจะทึกทักไปเองว่าคำตัดสินของศาลครั้งนี้จะนำไปสู่ Happy Ending ของทุกๆคน เราต้องคำนึงเสมอว่าการตัดสินครั้งนี้ผลคือผู้พิพากษา 5 คนเห็นด้วย และ 4 คนไม่เห็นด้วย คนในประเทศอเมริกาถึงแม้ว่าจะมีความเห็นเอนเอียงไปตามศาลสูง แต่อีกไม่น้อยเลยที่ยังไม่เห็นด้วยและคงจะไม่เปลี่ยนความคิดไปได้ง่ายๆ ดังนั้นถึงแม้ว่าทางกฎหมาย LGBT จะได้รับ marriage equality แล้วแต่ว่าทางภาคปฎิบัติพวกเค้ายังคงต้องต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางสังคมต่อไป.
ในโพสหน้าเราจะมาลองดูกันว่าเหตุผลที่หลายๆคนไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้มีอะไรบ้างค่ะ
ต้องท้าวความกันก่อนว่าประเทศอเมริกานั้นมีกฎหมายอยู่สองแบบหลักๆคือ กฎหมายกลาง (รัฐธรรมนูญ) ที่ใช้เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศอยู่แล้ว และกฎหมายของแต่ละรัฐ ที่ต้องมีการแบ่งออกแบบนี้เพราะเดิมทีประเทศอเมริกานั้นเป็นรัฐอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษโดยแต่ละรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน แต่เมื่อหลังจากทำสงครามเพื่ออิสระภาพแล้วนั้นก็กลายเป็นต้องเพิ่มรัฐบาลกลางเพื่อให้เกิดความเป็นประเทศขึ้น รัฐบาลกลาง หรือ Federal Government นั้นมีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการทำสนธิสัญญาต่างๆ ทำสงคราม การค้า และคอยไกล่เกลี่ย หรือตัดสินคดีความข้อพิพาทระหว่างรัฐต่างๆ แต่เนื่องจากประเทศอเมริกานั้นมีขนาดใหญ่มากประกอบกัน 48 รัฐ (บนแผ่นดินใหญ่) รัฐฮาวาย และ รัฐอลาสก้า ด้วยรวมเป็น 50 รัฐ มีประชากรมากมายหลากหลายทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม ประกอบกับการที่ประเทศอเมริกานั้นให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย แต่ละรัฐจึงมีลักษณะการปกครอง และการเมืองท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปเหตุผลหลักๆเลยคือไม่ต้องการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจมากจนเกินไปและต้องการให้การปกครองคนในท้องถิ่นเป็นไปในลักษณะการปกครองตนเอง ทำให้ส่วนใหญ่แล้วการออกกฎหมายที่ใช้ในแต่ละรัฐจึงอาศัยการโหวตภายในรัฐนั้นๆที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นรวมไปถึงการออกกฎหมายอนุญาติ หรือ ไม่อนุญาติให้มีการแต่งงานของเพศเดียวกันเกิดขึ้นด้วย โดยรัฐบาลกลางไม่มีสิทธิเข้าไปก้าวก่าย
แต่.... เมื่อไม่นานมีนี้ LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender) movement ก็เป็นกระแสขึ้นหลายๆรัฐผ่านกฎหมายอนุญาติให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ผ่านการทำประชามติในรัฐของตน อยู่ดีๆสภาคองเกรสก็มีการกลัว LGBT ทำให้มีการผ่านกฎหมายที่ชื่อว่า Defense of Marriage Act (DOMA) ในสมัย Bill Clinton เพื่อห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางยอมรับ หรือ recognize การแต่งงานของเพศเดียวกัน โดยให้คำจำกัดความว่าการแต่งงานหมายถึงระหว่างชาย 1 หญิง 1 เท่านั้น (Traditional Marriage)
แต่.... ก็มีการต่อต้านการร้องเรียนต่างๆเกิดขึ้นมากมายจนเป็นเหตุนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายนี้ในปี 2014 ที่ศาลสูงของประเทศ (Supreme Court of the United States/ SCOTUS) strike down ว่าการที่รัฐบาลกลางไม่ยอมรับการแต่งงานที่ถูกต้องตามกฎหมายของคู่รักเพศเดียวกันนั้นคือการ discriminate และละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่สมควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐฯอย่างเท่าเทียมกัน เป็นสิ่งที่ unconstitutional หรือ ผิดหลักรัฐธรรมนูญ ทำให้ตั้งแต่งนั้นเป็นต้นมารัฐบาลกลางก็ต้องยอมรับการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันที่ทำอย่างถูกต้องในรัฐต่างๆได้
แต่.... เนื่องจาก Defense of Marriage Act มีบทบัญญัติหลายข้อและศาลสูงได้แก้ไขเฉพาะส่วนที่พูดถึงรัฐบาลกลางเท่านั้น ทำให้รัฐอื่นๆที่ยังไม่อนุญาติให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ก็ยังคงไม่อนุญาติได้อยู่รวมถึงไม่จำเป็นต้องยอมรับด้วย ทำให้การประท้วงและเรียกร้องความเสมอภาคของเหล่า LGBT ก็ยังคงดำเนินต่อไป
แต่.... ในวันที่ 26 มิถุนายน 2015 นั้นก็มีการตัดสินข้อพิพาษระหว่าง Obergefell v. Hodges มีที่มาคือ Obergefell ผู้ร้องเสียหายต้องการมีชื่อเป็น Surviving Spouse ของสามีที่เสียชีวิตไปแต่ถูกปฎิเสธเพราะรัฐ Ohio ไม่ยอมรับการแต่งงานของเค้าและสามีในรัฐแมรี่แลนด์ เค้าจึงเรียกร้องขอความเป็นธรรมโดยมีการฟ้องร้องรัฐ Ohio ว่ากีดกัน และเหยียดหยามการแต่งงานของเค้าที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐอื่น คดีความกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตและมีการอุทรณ์ขึ้นไปจนถึงศาลสูง(สุด) ของประเทศจนได้ และศาลก็มีคำตัดสินออกมาว่าการแต่งงานนั้นเป็น right หรือ สิทธิที่ทุกคนทำได้ ทำให้ same-sex marriage เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายเหมือนการแต่งงานอื่นๆทั่วไป คู่สมรสมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับและได้รับผลประโยชน์ต่างๆเหมือนคู่สามี ภรรยาได้รับ และถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของ LGBT community ในอเมริกาเพราะเมื่อคำตัดสินมาจากศาลสูงแล้วถือเป็นอันสิ้นสุดและเด็ดขาดมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศทันที
แต่.... LGBT community ก็จะไม่หยุดอยู่แค่นี้เพราะพวกเค้าคิดว่าถึงแม้จะมีการแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่พวกเค้าอาจจะโดนรังแกจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการตัดสินของ SCOTUS ครั้งนี้ด้วยการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายมา discriminate พวกเค้าอีก เหมือนกับกรณีของการเหยียดสีผิว, เพศ, ศาสนา, ฯลฯ ที่ชาวผิวสี และผู้หญิงยังคงเผชิญอยู่ในขณะนี้
ฉะนั้นก่อนที่เราจะทึกทักไปเองว่าคำตัดสินของศาลครั้งนี้จะนำไปสู่ Happy Ending ของทุกๆคน เราต้องคำนึงเสมอว่าการตัดสินครั้งนี้ผลคือผู้พิพากษา 5 คนเห็นด้วย และ 4 คนไม่เห็นด้วย คนในประเทศอเมริกาถึงแม้ว่าจะมีความเห็นเอนเอียงไปตามศาลสูง แต่อีกไม่น้อยเลยที่ยังไม่เห็นด้วยและคงจะไม่เปลี่ยนความคิดไปได้ง่ายๆ ดังนั้นถึงแม้ว่าทางกฎหมาย LGBT จะได้รับ marriage equality แล้วแต่ว่าทางภาคปฎิบัติพวกเค้ายังคงต้องต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางสังคมต่อไป.
ในโพสหน้าเราจะมาลองดูกันว่าเหตุผลที่หลายๆคนไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้มีอะไรบ้างค่ะ