ข้อสอบเขียน BAS ต้องตอบยังไง
/
0 Comments
เพิ่มเติมคำถามของปีที่ผ่านมา คือ ให้เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของประเทศอเมริกากับประเทศจีน และความเป็นไปได้ที่จีนจะมาแทนที่อเมริกาในฐานะผู้นำโลก - คำถามนี้อันที่จริงก็ไม่ตายตัวอยู่แล้วว่าเราจะตอบในทิศทางไหน หรือ คำถามเป้ะๆ คืออะไร เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้แชร์ไอเดีย และวิเคราะห์ จากความรู้หรือความเห็นส่วนตัวของเรา ความเป็นไปได้ ข้อดี ข้อเสีย ของการที่ประเทศจีนจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลก โดยเฉพาะได้ด้านเศรษฐกิจของจีน ลองไปดูตัวอย่างการเขียนเชิงวิเคราะห์ตามลิงค์ข้างล่างดูค่ะ
สองลิงค์แรกนี้จะคล้ายกันตรงที่พูดถึงข้อเท็จจริง และสถิติ (ซึ่งจะเขียนแบบนี้ต้องมีความรู้ โม้ไม่ได้เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีข้อมูล หรือ แหล่งอ้างอิงที่ดีไม่สมควรเขียน)
1) http://www.independent.co.uk/news/business/news/move-over-america-china-overtakes-us-as-worlds-biggest-economy-kind-of-9783050.html
2) http://www.businessinsider.com/china-overtakes-us-as-worlds-largest-economy-2014-10
อันนี้จะเป็นการผสมผสานการคิดวิเคราะห์ของผู้เขียนเองผสมไปกับข้อเท็จจริง หรือ ข่าว และ ความเชื่อต่างๆ ซึ่งเป็นเชิงวิจารณ์ และสามารถใส่ความรู้สึก และความคิดส่วนตัวของผู้เขียนลงไปด้วย ถ้าเป็นไปได้อยากให้เขียนประมาณนี้ค่ะ
3) http://www.huffingtonpost.com/david-oualaalou/us-era-of-dominance-is-dw_b_6299040.html
ส่วนอันนี้เป็นการคาดการณ์ซึ่งอาจจะเอามาใช้ในบางส่วนของการเขียนได้
4) http://www.bbc.co.uk/news/business-27216705
อันที่จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องเขียนด้านเศรษฐกิจที่เราไม่ค่อยมีความรู้ก็ได้ เรียงความของเราสมควรจะเขียนไปในด้านที่เรามีความถนัดมากที่สุด เดาไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเรียนกับพี่ (แต่ไม่ยอมทำการบ้าน) หรือ ซื้อชีทไปจำแต่เนื้อหาแต่ไม่เคยฝึกเขียนเลย พอเวลาเขียนจริงๆแล้วก็จะลำบากนะคะ
การบริหารเวลาก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก เพราะผู้คุมสอบไม่ได้มานั่งบอกเราตลอดว่าตอนนี้เหลือเวลาเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจ และวางแผนการเขียนให้ดีๆ เวลาได้คำถามมาสมควรจะอ่านคำถามให้ละเอียด เนื่องจากคำถามข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยจะมีจุดให้เราโฟกัสหลายที่ คำถามที่สั้นกว่าเปิดโอกาสให้เราเขียนได้กว้างกว่า ส่วนคำถามที่ยาวอาจจะเจาะลึก หรือ อยากให้เราวิเคราะห์ในหลายๆประเด็น เพราะฉะนั้นถ้าได้คำถามแบบที่สอง เราสมควรจะตอบคำถามให้ครบทุกด้าน ด้านละนิดด้านละหน่อย และที่สำคัญไม่ควรเขียนยาว หรือ สั้นกว่าที่เค้ากำหนดจนเกินไป ปริมาณที่ดีคือประมาณ 1 หน้า A4 แต่ถ้าเขียนไม่พอจริงๆเพราะเขียนตัวใหญ่ก็สามารถขอกระดาษเพิ่มได้นะคะ
โชคดีค่ะทุกคน
สองลิงค์แรกนี้จะคล้ายกันตรงที่พูดถึงข้อเท็จจริง และสถิติ (ซึ่งจะเขียนแบบนี้ต้องมีความรู้ โม้ไม่ได้เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีข้อมูล หรือ แหล่งอ้างอิงที่ดีไม่สมควรเขียน)
1) http://www.independent.co.uk/news/business/news/move-over-america-china-overtakes-us-as-worlds-biggest-economy-kind-of-9783050.html
2) http://www.businessinsider.com/china-overtakes-us-as-worlds-largest-economy-2014-10
อันนี้จะเป็นการผสมผสานการคิดวิเคราะห์ของผู้เขียนเองผสมไปกับข้อเท็จจริง หรือ ข่าว และ ความเชื่อต่างๆ ซึ่งเป็นเชิงวิจารณ์ และสามารถใส่ความรู้สึก และความคิดส่วนตัวของผู้เขียนลงไปด้วย ถ้าเป็นไปได้อยากให้เขียนประมาณนี้ค่ะ
3) http://www.huffingtonpost.com/david-oualaalou/us-era-of-dominance-is-dw_b_6299040.html
ส่วนอันนี้เป็นการคาดการณ์ซึ่งอาจจะเอามาใช้ในบางส่วนของการเขียนได้
4) http://www.bbc.co.uk/news/business-27216705
อันที่จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องเขียนด้านเศรษฐกิจที่เราไม่ค่อยมีความรู้ก็ได้ เรียงความของเราสมควรจะเขียนไปในด้านที่เรามีความถนัดมากที่สุด เดาไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเรียนกับพี่ (แต่ไม่ยอมทำการบ้าน) หรือ ซื้อชีทไปจำแต่เนื้อหาแต่ไม่เคยฝึกเขียนเลย พอเวลาเขียนจริงๆแล้วก็จะลำบากนะคะ
การบริหารเวลาก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก เพราะผู้คุมสอบไม่ได้มานั่งบอกเราตลอดว่าตอนนี้เหลือเวลาเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจ และวางแผนการเขียนให้ดีๆ เวลาได้คำถามมาสมควรจะอ่านคำถามให้ละเอียด เนื่องจากคำถามข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยจะมีจุดให้เราโฟกัสหลายที่ คำถามที่สั้นกว่าเปิดโอกาสให้เราเขียนได้กว้างกว่า ส่วนคำถามที่ยาวอาจจะเจาะลึก หรือ อยากให้เราวิเคราะห์ในหลายๆประเด็น เพราะฉะนั้นถ้าได้คำถามแบบที่สอง เราสมควรจะตอบคำถามให้ครบทุกด้าน ด้านละนิดด้านละหน่อย และที่สำคัญไม่ควรเขียนยาว หรือ สั้นกว่าที่เค้ากำหนดจนเกินไป ปริมาณที่ดีคือประมาณ 1 หน้า A4 แต่ถ้าเขียนไม่พอจริงๆเพราะเขียนตัวใหญ่ก็สามารถขอกระดาษเพิ่มได้นะคะ
โชคดีค่ะทุกคน